วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การรักษาสมดุลยภาพของร่างกาย


สมดุลร่างกายของคนจะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส
สมดุลมีอยู่ 2 แบบ
1. สมดุลชนิดหยุดนิ่ง (Static Equilibrium) สมดุลนี้จะเปลี่ยนไป
ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลง
2. สมดุลไม่หยุดนิ่ง (Dynamic Equilibrium) สมดุลนี้มีการเปลี่ยน
แปลงหรือไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา
การรักษาดุลยภาพของน้ำและเกลือแร่
ไต มีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำในการขับถ่ายออกมา
กลไกของการควบคุมความกระหายน้ำอยู่ที่สมองส่วนของไฮโป
ธาลามัส
ปลาน้ำจืด ปริมาณน้ำภายในร่างกายมีความเข้มข้นมากกว่า
ภายนอก คือ มีแรงดันออสโมติกสูงกว่าภายนอก น้ำจะซึมเข้า
ออกได้ตรงบริเวณเหงือก ทำให้ปลาขับถ่ายน้ำทางปัสสาวะบ่อย
และมีอวัยวะพิเศษดูดเกลือแร่ไว้
ปลาทะเล น้ำภายในร่างกายจะเจือจางกว่าภายนอก คือมีแรง
ดันออสโมติกต่ำกว่าเกล็ดและผิวหนัง มีหน้าที่ป้องกันเกลือแร่
จากน้ำทะเลซึมเข้าเหงือก โดยทำหน้าที่ขับเกลือแร่ออกจากร่าง
กาย โดยขบวนการแอกตีฟทรานสปอร์ต
การรักษาสมดุลของกรด-เบส
ปฏิกิริยาการย่อยอาหารภายในปาก ต้องอยู่ในสภาวะเป็นเบส
การย่อยอาหารในกระเพาะอาหารต้องอยู่ในสภาวะเป็นกรด pH
ประมาณ 2
การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก ต้องอยู่ในสภาวะของเบส
เอนไซม์จึงจะทำงาน
การขับถ่ายเกลือแร่ทางไต เป็นการรักษาสมดุลยภาพของ
ความเป็นกรด-เบสของร่างกาย
การทำงานของเอนไซม์ ทำงานได้ดีที่สุดในช่วง 25 oC ถึง
40 oC และอุณหภูมิเหมาะสมคือ 30 oC ถึง 35 oC
แผนภาพการปรับร่างกายให้มีอุณหภูมิสมดุล
การขับถ่าย คือ การกำจัดของเสียอันเกิดจากขบวนการเมตาโบลิ
ซึม ร่างกายขับน้ำออกมาในรูปปัสสาวะ และเหงื่อ ซึ่งใน
ปัสสาวะจะมีสาร เช่น ยูเรีย กรดยูริก แอมโมเนีย โซเดียม
คลอไรด์ กรดฟอสฟอริก โซเดียม กำมะถัน และโพแทสเซียม
ละลายปนอยู่ สารที่ขับออกมามากสุด คือ ยูเรีย มีปริมาณ 35 กรัม
ต่อวัน
การขับถ่ายของเสียทางไต
ไตของคนมี 1 คู่ มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว มีท่อไต(Ureter) ทำหน้าที่
ลำเลียงปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ(Urinary bladder) ที่เก็บ
ปัสสาวะ
ไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อชั้นนอก คือ ชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex) และถัดเข้าไปคือชั้น
เมดุลลา (Medulla) ส่วนของเมดุลที่ยื่นจดกับโพรงที่ติดต่อกับ
หลอดไต คือ พาพิลลา (Papilla) ลักษณะที่เป็นโพรง เรียกว่า
กรวยไต (Pelvis) เนื้อไตประกอบไปด้วยหน่วยไต (Nephron)
หน่วยไตแต่ละหน่วยเป็นท่อ มีปลายข้างหนึ่งเป็นกระเปาะที่
ประกอบด้วยเยื่อบาง ๆ สองชั้น คือ โบวแมนส์แคปซูล
(Bowman's Capsule) ภายในโบวแมนส์แคปซูล จะมีกลุ่มเส้น
เลือดฝอย เรียกว่า
โกลเมอรูลัส (Glomerulus)
โบวแมนส์ แคปซูล อยู่ในชั้นคอร์เทกซ์ ท่อส่วนใหญ่จะอยู่ใน
ชั้นของเมดุลลา
ท่อที่ติดต่อกับโบวแมนส์ แคปซูล ทำหน้าที่ดูดน้ำและสารที่
ร่างกายกลับคืน
การกรองจะเกิดขึ้นที่โกลเมอรูลัส โดยผนังเส้นเลือดฝอย
ทำหน้าที่เป็นเยื่อกรอง
การลำเลียงน้ำหรือสารอาหารต่าง ๆ เข้าออกจากเซลล์
การขับถ่ายทางผิวหนัง
การขับเหงื่อจากต่อเหงื่อถูกควบคุมโดยระบบประสาท
อัตโนมัติในเวลาที่ตกใจหรืออารมณ์เครียดระบบประสาทนี้จะ
กระตุ้นการขับเหงื่อออกมามากกว่าปกตินอกจากนี้ ผิวหนังทำ
หน้าที่ป้องกันเชื้อโรค เป็นอวัยวะรับสัมผัสและช่วยรักษา
อุณหภูมิของร่างกาย
การขับถ่ายของสัตว์
แมลง ขับถ่ายของเสียทางท่อมัลพิเกียน (Malpighian tubule)
ของเสียจากเลือดของแมลงจะซึมเข้าไปในท่อมัลพิเกียน แล้วถูก
เปลี่ยนเป็นกรดยูริก มีสภาพเป็นสารกึ่งแข็งที่ไม่ละลายน้ำ ถูกขับ
ออกนอกร่างกายทางทวารหนัก
การเปลี่ยนไนโตรเจนเป็นกรดยูริก เกิดผลดี 2 อย่าง คือ
1. ช่วยประหยัดน้ำในร่างกาย
2. ป้องกันไม่ให้สารที่เป็นพิษต่อร่างกายแพร่เข้าสู่เซลอื่น ๆ
ไส้เดือนดิน
อวัยวะขับถ่ายของไส้เดือนดิน คือ เนฟริเดียม
(Nephridium) มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิด ปลายด้านหนึ่งเปิดออก
ที่ข้างลำตัว อีกข้างหนึ่งอยู่ในโพรงระหว่างลำตัวกับลำไส้
การยืดหดของกล้ามเนื้อผนังลำตัว และการโบกของซีเลียทำให้
ของเหลวถูกขับออกนอกลำดัว
การยืดหดของกล้ามเนื้อผนังลำตัว และการโบกของซีเลียทำ
ให้ของเหลวถูกขับออกนอกลำตัว
พลานาเรีย
พลานาเรีย กำจัดของเสียโดยใช้เฟลมเซล (Flame Cell) ภายใน
เฟลมเซลจะมีซีเรีย ซึ่งซีเลียจะโบกพัดของเหลวที่เป็นของเสียใน
เฟลมเซล ออกทางรูเปิดผนังลำตัว
โปรติสต์บางชนิด
พารามีเซียมจะมีโครงสร้างคอนแทร็กโทล์แวคิวโอล
คอนแทร็กโทลขยายขนาดได้เพราะได้รับสารส่วนใหญ่เป็นน้ำที่
มีของเสียปนอยู่ และจะแฟบลงได้จากการปล่อยสิ่งต่างๆ ออก
จากเซล ซึ่งของเสียถูกกำจัดโดยการแพร่
การขับถ่ายในพืช
ของเสียอาจกำจัดทางไฮดาโทด พบที่ปลายหรือขอบของใบ
โดยการเปลี่ยนรูปของเสียที่เป็นพิษให้เป็นผลึกที่ไม่ละลายน้ำ
แคลเซียม จะถูกกำจัดโดยเก็บสะสมไว้ที่ใบในที่สุดใบจะร่วง